อัปเดต! ดอกเบี้ยบ้าน 2566 ทุกธนาคาร

กิตติคม พจนี
อัปเดต! ดอกเบี้ยบ้าน 2566 ทุกธนาคาร
อัตราดอกเบี้ยบ้าน หรือสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน คือ ตัวกำหนดการผ่อนชำระค่างวดของการซื้อบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ และคอนโด สำหรับคนที่ทำการกู้ซื้อบ้านผ่านธนาคาร ดังนั้นใครที่ยังเลือกไม่ได้ว่าจะกู้ซื้อบ้านกับธนาคารไหนดีก็หายห่วงได้
DDproperty ได้รวบรวมข้อมูลอัตราดอกเบี้ยบ้าน อัปเดตประจำเดือน มีนาคม ปี 2566 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลย
ธนาคารไหนให้สินเชื่อบ้านโดยคิดดอกเบี้ยบ้านต่ำสุด มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพิจารณาเลือกสินเชื่อ สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อบ้าน หรือคอนโด ได้ง่ายขึ้น พร้อมตัวช่วยในการคำนวณผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน
sportlight
เดือน มีนาคม 2566 ธนาคารส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเฉลี่ย 3 ปีแรกคงที่จากเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2566 ทุกธนาคาร ซึ่งทาง DDproperty ก็ได้นำอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกที่ต่ำที่สุดมาจัดอันดับ โดยมีอัตราดอกเบี้ยบ้านของธนาคารที่น่าสนใจ ดังนี้

ตารางอัตราดอกเบี้ยบ้าน – คอนโด ของธนาคารพาณิชย์ เดือน มีนาคม 2566

1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์
1.99%
วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อหลักประกัน (สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน มาตรา 33 ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี 1.99 % ต่อปี)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.400% (ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2566)
2.ธนาคารทหารไทยธนชาต
3.25%
วงเงินขั้นต่ำ 5 แสนบาท สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท (กรณีซื้อจาก บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กลุ่มพิเศษที่ธนาคารกำหนด และสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริม 3 ประเภท)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.180% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566​)
3.ธนาคารออมสิน
3.34%
ไม่เกิน 100% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมิน แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า (สำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะที่มีวงเงินกู้สินเชื่อเคหะตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.495% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)
4.ธนาคารกรุงเทพ
3.38%
70-100% ของราคาประเมิน (สินเชื่อเพื่อกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ นักบิน และพนักงานประจำที่มีรายได้สูง 200,000 บาทขึ้นไป และทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)
5.ธนาคารกรุงศรีฯ
3.53%
100% ของราคาประเมิน สำหรับคอนโดราคา 1 ล้านบาทขึ้นไปสำหรับลูกค้าทั่วไป (90% สำหรับบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ และโฮมออฟฟิศ และ 85% สำหรับคอนโดราคา 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ และลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ และคู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566)
6.ธนาคารกรุงไทย
3.60%
วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน (กรณีผู้กู้ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.870% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566​)
7.ธนาคารกสิกรไทย
6.53%
วงเงินกู้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหลักประกัน (สำหรับลูกค้าที่มีรายได้ประจำที่มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.600% (ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม 2566)
8.ธนาคารไทยพาณิชย์
6.575%
วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักประกัน (กรณีทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่าหรือเท่ากับ 70% ของวงเงินกู้)

อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.620% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566​)

*** อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ย 3 ปีแรก คำนวณแบบค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์เท่านั้น***

ที่มาอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปี แรก* สามารถดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละธนาคาร และชมรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยรายปี วงเงินกู้ และข้อมูลอื่นๆ ได้ที่นี่: ดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ฉบับเต็มประจำเดือนนี้

ขั้นตอนกู้ซื้อบ้าน

8 อันดับธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเฉลี่ยต่ำที่สุดในเดือนนี้

1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) มีผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 1.99% สำหรับ ผู้ประกันตน (มาตรา 33) ดอกเบี้ยคงที่ 5 ปี = 1.99 % ต่อปี (ผ่อนชำระนานสูงสุด 40 ปี) และให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อหลักประกัน สำหรับผู้ยื่นกู้ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2565 – 31 มกราคม 2567
ทั้งนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีค่อนข้างต่ำ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่ร่วมกับนโยบายรัฐ โครงการบ้านจัดสรรที่ธนาคารกำหนด ตลอดจน โครงการสำหรับผู้สูงอายุ และสินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น โดยจะมีระยะเวลาในการขอสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด และสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.400% (ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2566)

2.ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.25% โดยมีเงื่อนไข คือ โครงการที่กู้ซื้อนั้นต้องเป็นบ้านใหม่จาก บริษัทพัฒนาอสังหาฯ กลุ่มพิเศษที่ธนาคารกำหนด (บริษัทฯ พันธมิตร) และต้องสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วมกับ ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) กำหนดประกอบไปด้วย
โครงการบ้านและคอนโดจากแสนสิริ, โครงการบ้านและคอนโดจากอนันดาฯ และโครงการบ้านและคอนโดจากเอพี (ไทยแลนด์) เป็นต้น (ทั้งนี้สามารถดูรายชื่อบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดทั้งหมดของธนาคารทหารไทยธนชาตได้ที่นี่)
รีวิวโครงการจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ชื่อดังบางส่วนตามที่ธนาคารกำหนด
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.180% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566)

3.ธนาคารออมสิน (GSB)

ธนาคารออมสิน (GSB) นอกจากสินเชื่อที่ร่วมกับมาตรการรัฐแล้ว ทางธนาคารยังมีผลิตภัณ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ ที่หลากหลายขึ้น อาทิ สินเชื่อเคหะสำหรับบุคคลทั่วไป และ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ / MOU ที่มี่วงเงินกู้สินเชื่อเคหะตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำสุดอยู่ที่ 3.34% แบ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก MRR-3.855% และ ปีที่ 2-3 = MRR-2.805% โดยมีเงื่อนไขในการทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ
ส่วนสำหรับ สินเชื่อเคหะสำหรับกลุ่มบุคคลทั่วไป วงเงินกู้สินเชื่อเคหะต่ำกว่า 10 ล้านบาท ขึ้นไป มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.54% เท่านั้น แบ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ปีแรก MRR-3.855% และ ปีที่ 2-3 = MRR-2.805% โดยมีเงื่อนไขในการทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อทั้งหมดให้วงเงินสูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินหลักทรัพย์ แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.495% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)

4.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เป็นสถาบันทางการเงินที่มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อกู้บ้าน คอนโด และทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลายมากที่สุด โดยให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกัน และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.38% แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบที่ 1 ปีแรก = MRR-4.65% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.80% และแบบที่ 2 ปีแรก = MRR-4.40% ปีที่ 2 = MRR-4.15% และปีที่ 3 = MRR-1.70%
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุดที่ 3.38% ของ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) มีเงื่อนไขในการขอสินเชื่อบ้าน คือ ผู้กู้สินเชื่อต้องเป็นกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ คือ แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ และนักบิน หรือ พนักงานประจำที่มีเงินเดือนมากกว่า 200,000 บาท และต้องทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ นอกจากนั้น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะมีระยะเวลาในการขอสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด และสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566)

5.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)

อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อยู่ที่ 3.53% สำหรับคอนโดที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% ส่วน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด อาคารพาณิชย์ และโฮมออฟฟิศ ที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ (แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์) และ ลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ (สำหรับผู้มีเงินฝากและ/หรือเงินลงทุนกับธนาคาร 5 ล้านบาทขึ้นไป) ตลอดจน คู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน ธนาคารให้วงเงินสูงสุด 90% ของราคาประเมิน (85% ของราคาประเมินสำหรับห้องชุดพักอาศัย)
สำหรับ “คู่เพื่อน” ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน จะมีความแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิม คือ การขอกู้สินเชื่อบ้านร่วมกันสำหรับคู่เพื่อน ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกันนั้นแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิม คือ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้กู้ แต่จะพิจารณาจากรายได้ ศักยภาพในการชำระคืน และเครดิตของผู้กู้ทั้ง 2 ท่าน รวมถึงการตรวจสอบเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งนี้ ผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วม จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
  • บุคคลธรรมดา
  • สัญชาติไทย
  • อายุ 27 – 65 ปี
  • พนักงานประจำ อายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป (งานปัจจุบันต้องผ่านการทดลองงานแล้ว)
  • ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบธุรกิจมาแล้ว ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป
  • ผู้กู้หลักต้องมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเมื่อรวมรายได้ของผู้กู้ร่วมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากพนักงานขาย
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.800% (ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566)

6.ธนาคารกรุงไทย (KTB)

สำหรับลูกค้าทั่วไป กรณีขอสินเชื่อ แบบทำประกัน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 3.60% โดยจะมีอัตราดอกเบี้ยเดือน 1-3 = 0.66%
เดือน 4-12 = MRR – 3.00% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR – 3.00% ส่วน กรณีการขอสินเชื่อ แบบไม่ได้ทำประกัน ของ ธนาคารกรุงไทย มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 3.69% โดยมีอัตราดอกเบี้ยเดือน 1-3 = 0.66% เดือน 4-12 = MRR – 2.90% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR – 2.90%
ทั้งนี้เอง ธนาคารกรุงไทย ยังมีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่าง สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากรภาครัฐ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.25% ในกรณีของการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ โดยคิดเป็นดอกเบี้ยปีแรก = 1.50% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.75% และความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านของ ธนาคารกรุงไทย (KTB) คือ มีระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 40 ปี
นอกจากนั้น ธนาคารกรุงไทย ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน สําหรับ ผู้ซื้อทรัพย์สิน พร้อมขาย (NPA) ของธนาคาร ที่ยื่นคําขอสินเชื่อในปี 2565 ทั้งในงานมหกรรมและนอกงานมหกรรม โดยมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประเมินราคาหลักทรัพย์ประกัน และมีระยะเวลาให้กู้สูงสุด 40 ปี ในกรณีของการทำประกัน MRTA หรือ GLT SP (เติมวงเงิน) ไม่ต่ำกว่า 10 ปี และทำประกันอัคคีภัย ไม่ต่ำกว่า 5 ปี มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.24% เท่านั้น
อ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินให้ MRR = 6.870% (ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566)

7.ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)

สำหรับ ธนาคารกสิกรไทย แบ่งผลิตภัณฑ์การขอสินเชื่อบ้าน 2 รูปแบบ คือ สำหรับพนักงานที่มีรายได้ประจำ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 6.53% โดยมีเงื่อนไข คือ ลูกค้าต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และเป็นรายได้ประจำ ส่วนสินเชื่อบ้านสำหรับ ผู้ประกอบการ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 7.03% โดยมีเงื่อนไข คือ ลูกค้าต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และมีวงเงินกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหลักประกัน
นอกจากนั้น ธนาคารกสิกรไทย ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 6 เดือน กู้เต็ม 100% สำหรับ กู้ซื้อทรัพย์สินรอการขาย ของธนาคารกสิกรไทย ไม่ว่าจะบ้าน ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำสุดอยู่ที่ 4.02% สำหรับการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ โดยในปีแรกมีอัตราดอกเบี้ย = เดือนที่ 1-6 = 0% / เดือนที่ 7-12 = MRR-1.98% ปีที่สองและปีที่สาม = MRR-1.73%
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.600% (ณ วันที่ 30 มกราคม 2566​)

8.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

ทั้งนี้เอง ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก็มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับทั่วไปที่น่าสนใจ โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% จากราคาประเมินหลักประกัน กรณีลูกค้าโครงการ / ลูกค้าองค์กร จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ขึ้นอยู่กับประเภทโครงการ หรือประเภทองค์กร
โดยผลิตภัณฑ์อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้านใหม่ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบที่ 1 (ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่า 70% ของวงเงินกู้) มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอด 3 ปีแรกอยู่ที่ 6.575% และแบบที่ 2 (ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ) มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอด 3 ปีแรกอยู่ที่ 6.620%
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.620% ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566​)
*อัตราสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยมากนัก ประมาณ 1 ไตรมาสหรือครึ่งปีต่อครั้ง ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างธนาคารแต่ละที่ด้วย
กรณีตัวอย่าง : ช้อัตราส่วนการผ่อนชำระเบื้องต้นที่ 1,000,000 : 7,000

หากกู้ซื้อบ้านในราคาประเมิน 2,000,000 บาท สามารคิดเป็นยอดชำระเริ่มต้นต่อเดือนจากวงเงินกู้ได้ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน

***คำนวณเบื้องต้นจากสมมุติ*** โดยใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.89% ตลอดปีที่ 1-3

กู้ซื้อบ้านกับธนาคารแห่งหนึ่งที่มีดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 2.89% โดยแบ่งชำระเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นยอดชำระทั้งหมด 504,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 347,196.69 บาท และคิดเป็นดอกเบี้ย 156,803.34 บาท

การคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยตามกรณีตัวอย่างด้านบนเป็นการคำนวณเบื้องต้น 3 ปีแรกเท่านั้น หากต้องการคำนวณการผ่อนสินเชื่อบ้านตลอดระยะเวลาการกู้ สามารถดาวน์โหลดตารางคำนวณผ่อนสินเชื่อบ้าน โดยอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยและการผ่อนชำระจริงต่อเดือนได้ที่นี่

***ทั้งนี้การคำนวณดังกล่าวเป็นการคาดคะเน อัตราจริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร***
อยากซื้อบ้าน-คอนโดมิเนียม-เริ่มต้นอย่างไร

นอกจากอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารที่เราได้รวบรวมมาให้แล้ว เรายังมีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกสินเชื่อบ้านให้ได้ดอกเบี้ยต่ำและวงเงินกู้สูงมาแนะนำอีกด้วย
1. บ้านโครงการใหม่ หากคุณกำลังจะซื้อบ้านโครงการใหม่ หรือบ้านมือหนึ่ง ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ปัจจุบันหลายบริษัทฯ มีการทำความร่วมมือกับธนาคารเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกค้าของบริษัท ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามสินเชื่อบ้านที่ทางโครงการจัดให้ หรือสามารถสอบถามจากทางธนาคารโดยตรงก็ได้ครับว่าโครงการที่สนใจจะซื้อนั้นเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุนอยู่หรือไม่
2. การซื้อทรัพย์สินธนาคาร NPA ธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน NPA นั้น มักจะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ให้ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินธนาคาร สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเจ้าของทรัพย์ได้
3. หน่วยงานที่ทำงาน บางธนาคารนั้นมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะในลักษณะสวัสดิการต่าง ๆ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงควรสอบถามแก่ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่ามีสวัสดิการเกี่ยวกับการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้กับธนาคารใดหรือไม่ หรือสอบถามเพิ่มเติมกับธนาคารต่าง ๆ ก็ได้ นอกจากนี้บางธนาคารมีการจัดกลุ่มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในบางธุรกิจ หรือขนาดบริษัท ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแต่ละธนาคาร
4. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพิเศษ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา และอัยการ ธนาคารบางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้านี้โดยเฉพาะ สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
5. กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร ควรสอบถามหน่วยงานต้นสังกัด หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ก่อน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
6. ทำประกัน MRTA การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อหรือ MRTA พร้อมกับการขอสินเชื่อบ้านนั้น ธนาคารมักจะมีส่วนลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อย แต่จะมีเงื่อนไขว่าต้องทำประกันคุ้มครองเป็นสัดส่วนเท่าใดของวงเงินกู้ หรือระยะเวลานานเท่าใด จึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารจะสามารถให้รายละเอียดได้
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมมาจากเว็บไซต์ของธนาคาร และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของธนาคารเท่านั้น หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของธนาคารผู้ออกสินเชื่อนั้น หรือสอบถามโดยตรงจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารได้ทุกสาขาซึ่งยินดีให้ข้อมูล
แนะนำ 5 ขั้นตอนวิธีกู้เงินซื้อบ้าน คอนโด
อัปเดตอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน MRR MLR MOR ล่าสุด

อัปเดตอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน MRR MLR MOR ล่าสุด

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน

คำนวณสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เช็กยอดผ่อนชำระต่อเดือนอัตราใหม่และจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้หลังจากการทำรีไฟแนนซ์

ดอกเบี้ยบ้าน และการกู้ซื้อบ้าน ที่คุณควรรู้

กู้ซื้อบ้านให้ผ่านฉลุยด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.เตรียมเอกสารการกู้เงิน 2.หาอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะกับคุณ โดยเปรียบเทียบของแต่ละธนาคาร 3.ยื่นเอกสารกับธนาคารที่ต้องการ และ 4.ตรวจรับโอนบ้านและจดจำนอง

ดอกเบี้ยบ้าน คือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยแบ่งเป็นดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ หรือ Fix Rate ซึ่งประกอบด้วย MRR MLR และ MOR และดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว หรือ Floating Rate

ดอกเบี้ยบ้าน ธนาคารที่ถูกที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรก อยู่ที่ประมาณ 1.99%-2.50%