2 กรณีเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดิน มีขั้นตอนอย่างไร

DDproperty Editorial Team
2 กรณีเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดิน มีขั้นตอนอย่างไร
การเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินไม่ใช่เรื่องยาก หรือมีขั้นตอนวุ่นวาย โดยแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินสามารถเพิ่มเชื่อบุคคลอื่นในโฉนดที่ดินของตนเองได้ โดยที่กรรมสิทธิ์เจ้าของที่ดินยังคงอยู่ ส่วนการเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นมรดกแล้วส่งต่อให้ทายาททางกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม ลองมารู้จักวิธีการเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินแต่ละแบบกันได้ที่นี่
Subscription Banner for Article

สามารถเพิ่มชื่อใครในโฉนดที่ดินได้บ้าง

การเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินในรูปแบบกรรมสิทธิ์รวมนั้น เจ้าของที่ดินสามารถเพิ่มชื่อให้กับลูก, สามี-ภรรยา, พี่-น้อง รวมถึงญาติได้ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายและรายละเอียดการเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินที่ต่างกัน
ขณะที่การเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินในรูปแบบมรดก ในทางกฎหมายจะตกทอดแก่ทายาทของผู้เสียชีวิตโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้าของมรดกทำไว้ นั่นคือทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม ซึ่งมี 7 ลำดับ ดังนี้
  1. ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
  2. ภรรยาหรือสามี (ต้องได้จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
  3. บิดาและมารดา
  4. พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
  5. พี่น้องร่วมบิดา หรือ มารดาเดียวกัน
  6. ปู่ย่า ตายาย
  7. ลุง ป้า น้า อา

หลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการขอรับมรดกเพื่อเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดิน

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร
  • พินัยกรรม (ถ้ามี)
  • ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร
  • กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
  • ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง
  • ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป

  • คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก
  • หลักฐานการตายของเจ้ามรดก
  • ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก
  • โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินต้องทำอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินต้องทำอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เนื่องจากการเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินทั้งแบบที่เจ้าของที่ดินยังมีชีวิตอยู่และในรูปแบบมรดกที่เจ้าของที่ดินเสียชีวิตแล้วจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จะสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. กรณีที่เจ้าของที่ดินยังมีชีวิตอยู่

พ่อหรือแม่ยกให้ลูกชอบด้วยกฎหมาย
0.5%
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท
0.5%
ไม่เสีย
พ่อยกให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (พ่อแม่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน)
0.5%
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันได จากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
0.5%
3.3% จากราคาประเมิน
ยกให้กับญาติคนอื่นที่ไม่ใช่ลูก
2%
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันได จากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
0.5%
3.3% จากราคาประเมิน

2. กรณีเจ้าของที่ดินเสียชีวิตแล้ว เป็นมรดกตกทอด

ทายาท
บุคคลธรรมดา
ทายาท
บุคคลธรรมดา
ส่วนเกินมูลค่า 100 ล้านบาท
ส่วนเกินมูลค่า 100 ล้านบาท
ส่วนเกินมูลค่า 20 ล้านบาท
ส่วนเกินมูลค่า 10 ล้านบาท
อัตราภาษี 5%
อัตราภาษี 10%
อัตราภาษี 5%
อัตราภาษี 5%
โดยการเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินในรูปแบบมรดกจะต้องเสียค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย
  • ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  • ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท
  • ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ 50 บาท
  • ค่าจดทะเบียนโอนมรดก 2% ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
  • ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ 0.5%

ขั้นตอนการเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินมีอะไรบ้าง

สำหรับการเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดิน จะมีขั้นตอนและวิธีการคล้ายกับการโอนที่ดิน ซึ่งนอกเหนือจากการเตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้แล้ว จะมีขั้นตอนดังนี้
1. ไปที่กรมที่ดิน ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน จากนั้นรับบัตรคิวจากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
2. รอตามคิว โดยเมื่อถึงคิวเจ้าหน้าที่จะเรียก ผู้รับและผู้โอน จะต้องไปเซ็นต์เอกสารต่อเจ้าหน้าที่
3. เจ้าหน้าที่พนักงานกรมที่ดิน จะทำการประเมินทุนทรัพย์ และคำนวณค่าธรรมเนียมการโอน ตามอัตราค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินที่ได้กล่าวไปแล้วด้านบน หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พนักงานที่ดินจะทำงานมอบใบคำนวณค่าโอนให้ เพื่อให้ไปชำระค่าโอนที่ฝ่ายการเงิน
4. นำใบคำนวณค่าโอนไปชำระค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินที่ฝ่ายการเงิน เมื่อชำระเรียบร้อยแล้ว จะได้ใบเสร็จการชำระค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน 2 ใบ ได้แก่ ใบสีฟ้า และ ใบสีเหลืองโดยให้นำใบสีเหลืองคืนแก่เจ้าหน้าที่ ส่วนใบเสร็จสีฟ้าให้ผู้ขายทำการถ่ายสำเนาให้กับผู้ซื้อ 1 ชุด
5. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพิมพ์สลักหลังโฉนด ผู้โอนต้องรอรับโฉนดที่ดินมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นจึงมอบโฉนดและสัญญาซื้อขาย ทด.13 ให้กับผู้รับ ซึ่งก็จะนับว่าเป็นการเสร็จสิ้นการโอนที่ดินเรียบร้อย โดยโฉนดได้เปลี่ยนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้รับเรียบร้อยแล้ว
กล่าวโดยสรุป การเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินสามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแต่รูปแบบจะแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนจะเพิ่มชื่อในโฉนดที่ดินควรศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือนตามระยะเวลากู้

เพียงใส่ยอดเงินกู้ที่คุณต้องการ เราจะคำนวณให้คุณเห็นถึงยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามระยะเวลาผ่อนและอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

คำนวณยอดผ่อนต่อเดือน

คำนวณยอดผ่อนชำระต่อเดือนตามอัตราดอกเบี้ยของคุณด้วยเครื่องมือคำนวณสินเชื่อนี้

คำนวณวงเงินกู้สูงสุด

คำนวณสินเชื่อบ้าน ยอดวงเงินกู้บ้านใหม่ที่คาดว่าจะได้รับจากแบงก์และยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือน