HIGHLIGHTS
-
ข้อดีของ MRTA คือ ถ้าหากผู้กู้เกิดเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ก็สามารถใช้วงเงินประกันสินเชื่อบ้านจ่ายหนี้ที่เหลือได้
-
ยื่นขอเวนคืนประกันบ้านได้แต่ต้องขอยกเลิกภายใน 15 วันหลังได้รับเล่มกรมธรรม์
MRTA คืออะไร?
MRTA ย่อมาจาก Mortgage Reduced Term Assurance หรือหมายถึงเป็นประกันชีวิตที่วงเงินคุ้มครองจะลดลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ละปีตามจำนวนหนี้สินเชื่อบ้านของเราที่ลดลงทุกปีเช่นกัน และเป็นประกันที่จะคำนวณเบี้ยประกันมาให้เราจ่ายก้อนเดียวตั้งแต่เริ่มกู้บ้าน โดยถ้าหากมีเงินสดก็สามารถจ่ายตรงให้กับบริษัทประกันได้
แต่ถ้าหากไม่พร้อม ธนาคารจะมีข้อเสนอให้เพิ่มเป็นวงเงินร่วมไปกับการกู้ซื้อบ้าน ซึ่งหลาย ๆ คนหลังเซ็นชื่อทำประกันชีวิต MRTA ไปแล้วกลับเปลี่ยนใจในภายหลัง สามารถยื่นขอยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ได้อย่างแน่นอนในกรณีต่อไปนี้
1.ขอยกเลิกภายใน 15 วันหลังได้รับเล่มกรมธรรม์
2.ชำระหนี้สินเชื่อบ้านได้ครบก่อนหมดระยะเวลาในประกัน
3.ขอรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านไปยังธนาคารอื่น
2.ชำระหนี้สินเชื่อบ้านได้ครบก่อนหมดระยะเวลาในประกัน
3.ขอรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านไปยังธนาคารอื่น
ขั้นตอนการขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน MRTA
โดยขั้นตอนของการขอยกเลิกหรือเวนคืนคือ นำเล่มกรมธรรม์ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานการชำระหนี้สินเชื่อบ้านเรียบร้อย (กรณีที่ 2. และ 3.) ติดต่อที่บริษัทประกันเพื่อกรอกใบขอยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์ และเจ้าหน้าที่จะคำนวณมูลค่าเงินสดคืนให้ ว่าจะได้เงินคืนมากแค่ไหน
ทั้งนี้ต้องดูแต่ละกรณี เช่น กรณีที่ 1. ที่เป็นการขอยกเลิกกรมธรรม์ภายใน 15 วัน ผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืน 100% ของเบี้ยประกันที่จ่ายไป โดยหักค่าธรรมเนียมดำเนินการยกเลิกไปบางส่วน
ในกรณีที่ 2. และ 3. มูลค่าเงินสดที่เหลืออยู่ที่สามารถเวนคืนได้นั้นจะลดลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือน เพราะ MRTA มีวงเงินคุ้มครองหรือทุนประกันที่ลดลงในแต่ละปี และเป็นเงินจ่ายเปล่าที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบการออมทรัพย์
ส่วนวิธีการคำนวณ ต้องนำตารางการเวนคืนกรมธรรม์ที่อยู่ในเล่มกรมธรรม์ของแต่ละคนซึ่งจะระบุมูลค่าเงินสดคืนต่อ 1,000 บาทมาใช้ประกอบการคิดคำนวณ รวมถึงตารางทุนประกันที่เหลือในแต่ละเดือน ซึ่งกรมธรรม์ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจ กู้ซื้อบ้านสามารถอัพเดทอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านประจำเดือนล่าสุด ได้ที่นี่
ยกตัวอย่างการคำนวณมูลค่าเงินสดคืนประกันชีวิต MRTA ของนาย ก.
ทุนประกันเริ่มต้น 1 ล้านบาท ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี จ่ายเบี้ยประกัน 150,000 บาท
| สูตรคำนวณ (ทุนประกัน X มูลค่าเงินสดคืน) ÷ 1,000 = เงินสดคืน
1
900,000
150
135,000
2
800,000
140
112,000
3
700,000
130
91,000
4
600,000
120
72,000
5
500,000
110
55,000
6
400,000
100
40,000
7
300,000
90
27,000
8
200,000
80
16,000
9
100,000
70
7,000
10
0
0
0
*เป็นตัวอย่างสมมติโดยคร่าว
สมมติว่า นาย ก. สามารถเร่งผ่อนชำระบ้านได้ตั้งแต่สิ้นปีที่ 7 จึงยื่นขอเวนคืนกรมธรรม์ประกัน MRTA ก็จะได้เงินคืน 27,000 บาท
หรืออีกกรณี สมมติว่า นาย ก. ต้องการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านไปธนาคารอื่นตั้งแต่ช่วงสิ้นปีที่ 3 แต่ไม่ต้องการใช้ความคุ้มครองของประกัน MRTA ฉบับเดิม ต้องการเวนคืนกรมธรรม์นี้ ก็จะได้เงินสดคืน 91,000 บาท
จากตัวอย่างสมมติ การคิดคำนวณมูลค่าเงินสดคืนจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทประกัน บางบริษัทลดมูลค่าเงินสดคืนลดลงไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนแรก ๆ บางบริษัทค่อย ๆ ลดไปอย่างสม่ำเสมอ แต่ด้วยหลักการแล้ว ประกันชีวิต MRTA เป็นประกันที่ยิ่งผ่านระยะเวลาไปนานทุนประกันหรือความคุ้มครองก็จะลดลงเรื่อย ๆ เพื่อให้สัมพันธ์กับหนี้สินเชื่อบ้านของเราที่ลดลงเรื่อย ๆ เช่นกัน ทำให้เงินสดคืนเมื่อเวนคืนกรมธรรม์ก็จะเหลือน้อยลงไปตามกาลเวลา
กรณียังชำระหนี้สินเชื่อบ้านไม่หมดแต่ต้องการยกเลิกกรมธรรม์ MRTA
กรณีที่ผ่าน 15 วันแรกหลังได้เล่มกรมธรรม์แล้ว และยังชำระหนี้สินเชื่อบ้านไม่ครบ แต่ต้องการยกเลิกกรมธรรม์ MRTA จะทำได้หรือไม่?
ส่วนนี้อาจต้องแบ่งเป็นอีกหลายกรณี ขึ้นอยู่กับแหล่งเงินที่ใช้จ่ายเบี้ยประกันไปตั้งแต่ต้น ได้แก่
1.ใช้เงินสดของตนเอง > สามารถเวนคืนกรมธรรม์ได้
2.กู้เงินจากธนาคารโดยรวมกับยอดกู้สินเชื่อบ้าน
2.1 ชำระเงินต้นส่วนที่ใช้สำหรับจ่ายเบี้ยประกันครบแล้ว > สามารถเวนคืนกรมธรรม์ได้
2.2 ยังชำระเงินต้นส่วนที่ใช้จ่ายเบี้ยประกันไม่ครบ > ธนาคารจะยืนยันไม่อนุญาตให้เวนคืน หรือ ต้องนำเงินสดจากการเวนคืนมาชำระเงินกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคาร
2.2 ยังชำระเงินต้นส่วนที่ใช้จ่ายเบี้ยประกันไม่ครบ > ธนาคารจะยืนยันไม่อนุญาตให้เวนคืน หรือ ต้องนำเงินสดจากการเวนคืนมาชำระเงินกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคาร
นอกจากนี้ หากผู้กู้ทำประกัน MRTA เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านอัตราลดพิเศษ เมื่อขอเวนคืนกรมธรรม์แล้วธนาคารอาจปรับดอกเบี้ยกลับมาเป็นอัตราปกติได้
ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ ผู้ทำประกันหลายรายประสบปัญหาเมื่อต้องการเวนคืนกรมธรรม์ MRTA ก่อนจะปิดยอดหนี้สินเชื่อบ้านครบถ้วน เนื่องจากธนาคารและบริษัทประกันมักยืนยันว่าไม่สามารถทำได้ในทุกกรณี ซึ่งผู้ทำประกันสามารถขอคำปรึกษาและความช่วยเหลือได้ที่สายด่วน 1186 คปภ.-สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
อัพเดท ข่าวอสังหาริมทรัพย์ สดใหม่ทุกวัน พร้อมส่งตรงถึงอีเมล์ของคุณฟรี สมัครได้ที่นี่ หรือหากคุณกำลังมองหาบ้าน คอนโด ก็สามารถเลือกชม โครงการใหม่ พร้อม รีวิวโครงการคอนโดใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคาได้เช่นกัน