ปัจจุบันภาษีเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก นอกจากภาษีบุคคลธรรมกา ภาษีหุ้นส่วนสามัญ หรือภาษีจากกองมรดกที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงแล้ว อีกหนึ่งภาษีที่มีผลกระทบต่อการเงินก็คือ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ถือเป็นภาษีอีกหนึ่งตัวที่สำคัญและภาครัฐก็ได้มีการถกเถียง และร่างฉบับแก้ไขกันมาตลอดจน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ซึ่งจะออกกฎหมายให้เริ่มใช้ในปีหน้าหรือปี 2560 แต่หากใครยังไม่รู้จักกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สามารถศึกษาให้เข้าใจก่อนได้ที่นี่ โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ใครได้ประโยชน์อะไร ใครเสียผลประโยชน์อะไร ในแง่ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ ลองมาดูกัน
หัวข้อหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ก็คือ ทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษีนั้น ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และอาคารพาณิชย์หรือห้องชุด โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีก็คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดสำหรับภาษีที่ดินและการปลูกสร้างที่จะต้องรับรู้เลยก็คือ ที่ดินรกร้างว่างเปล่าจากเดิมที่ไม่ได้เก็บภาษี ต่อไปจะต้องเสียภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่จะปรับขึ้นทุก 3 ปี หากยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน นั่นหมายความว่าใครที่มีที่ดินกักตุนไว้หรือเก็งราคาในอนาคตโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด จะต้องเสียภาษีนั่นเอง โดย ฐานภาษีที่จะต้องเสียให้กับหน่วยงานจัดเก็บภาษี คำนวณได้จากราคาประเมินทุนทรัพย์แห่งประมวลกฎหมายที่ดินหรือกรมธนารักษ์ ซึ่งมูลค่าของภาษีสามารถคิดคำนวณได้จากอัตราจัดเก็บภาษีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ตามนี้
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับโครงสร้างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. ทรัพย์สินที่ได้รับการลดหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ทั้งนี้โครงสร้างการปรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ก็มีการยกเว้นภาษีให้แก่สินทรัพย์ หากไม่นับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ในส่วนของภาครัฐที่ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ในแง่ของ สินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่
– ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
– ทรัพย์สินของเอกชนที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือไม่ได้หาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น
– บ้านพักอาศัยหลัก 1 หลัง ในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท
รวมไปถึงการลดภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือได้รับการยกเว้นการเสียภาษี อาทิ พื้นที่ที่ได้รับภัยภิบัติ หรือ บ้านเรือนที่เสียหายหรือถูกทำลาย ก็สามารถลดภาษีหรือยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ ซึ่งจะยกเว้นหรือลดนั้นขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด
2. ทรัพย์สินที่ได้รับการบรรเทาภาระภาษี
การบรรเทาภาระภาษีหรือการลดอัตราภาษีมีผลคาบเกี่ยวกับระยะเวลาการออกกฎหมายใหม่ ซึ่งมีการลดภาระภาษีของทรัพย์สินต่าง ๆ ให้ไม่เกิน 75% ประกอบด้วย
– บ้านพักอาศัยหลักที่ได้กรรมสิทธิ์มาจากการรับมรดก ก่อนที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะบังคับใช้ เสียภาษีลดลง 50% ของภาษีที่ต้องเสีย
– กิจการสาธารณะ อาทิ โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น เสียภาษีลดลง 75%
– ที่ดินเปล่าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่พักอาศัย ไม่ต้องเสียภาษีเป็นระยะเวลา 1 ปี
– ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการที่พักอาศัย จัดเก็บภาษี 0.05% ของมูลค่าทรัพย์สินนาน 3 ปี ซึ่งหลังจาก 3 ปี จะมีอัตราการเก็บภาษีตามตารางสีแดงเหลืองที่ว่าด้วยเรื่องอัตราการจัดเก็บภาษีและสิ่งปลูกสร้างด้านบน
– ทรัพย์สินที่เป็น NPA ของสถาบันการเงิน (ทรัพย์สินของลูกหนี้ธนาคารที่มีปัญหาในการชำระหนี้ ไม่สามารถชำระหนี้ต่อธนาคารได้) ให้จัดเก็บภาษี 0.05% ของฐานภาษี เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยสามารถศึกษาข้อมูลของทรัพย์สิน NPA ได้ที่นี่
ทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ได้สร้างความแตกต่างต่อฐานันดรต่อผู้ครอบครองทรัพย์สิน ซึ่งจะกล่าวได้ว่าข้อบังคับใช้กฎหมายใหม่นี้สามารถลดความเลื่อมล้ำทางสังคมจากคนรวยและคนธรรมดาได้ ใครที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูงก็ต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ หากใครที่ไม่อยากเสียภาษี อาทิ ที่ดินรกร้าง ซึ่งปัจจุบันที่ดินส่วนใหญ่ก็เป็นของชนชั้นสูงหรือผู้มีกำลังทุนทรัพย์ในสังคมก็ต้องปรับเปลี่ยนที่ดินในส่วนนั้นให้เป็นสาธารณะประโยชน์โดยไม่ได้หาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น ในปัจจุบันเรามักจะพื้นที่เปล่าขนาดใหญ่ตามแนวที่ดินที่มีราคาค่อนข้างสูงถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสวนสาธารณะหรือพื้นที่สีเขียว และถูกตั้งชื่อเป็นชื่อของเจ้าของพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งนั่นก็ถือเป็นวิธีเลี่ยงภาษีจำนวนมาก แต่ในอีกแง่มุมพื้นที่นั้นก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อสาธารณชน
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย กิตติคม พจนี Content Writer ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า