ค่าไฟฟ้าแพง ในช่วงนี้อาจไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะอากาศร้อน ทำให้ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าบ่อยกว่าเดิม แน่นอนว่าอาจทำให้บิลค่าไฟฟ้าของคุณมีตัวเลขที่มากกว่าปกติ จนมีคำถามคาใจว่าทำไม "ค่าไฟฟ้าแพง" ลองมาดูว่าค่าไฟฟ้าแพงนั้นเกิดจากอะไร มีวิธีการคิดค่าไฟอย่างไร เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดกินไฟเท่าไหร่ รวมทั้งมาตรการลดค่าไฟจากภาครัฐได้ที่นี่
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
ทำไมค่าไฟฟ้าแพง
อันดับแรกต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าค่าไฟฟ้าแพงนั้นเกิดจากอะไร โดยการไฟฟ้าจะคิดค่าไฟฟ้าแบบอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้มาก ยิ่งต้องจ่ายมาก ซึ่งตัวแปรของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอากาศร้อนทำให้มีโอกาสใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทมากกว่าปกติ เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม หรือตู้เย็น จึงทำให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นกว่าปกติ
8 อาชีพเด่น งานไหนสามารถทำที่บ้านได้
มาดู 8 อาชีพที่เด่นที่สามารถ Work from Home โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นอาชีพเสริม แต่เป็นอาชีพประจำจริง ๆ มีอาชีพไหนบ้าง
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้ค่าไฟแพง
บ้านที่มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าแพงส่วนมาก จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้
1. แอร์ และคอมเพรสเซอร์
3. พัดลมไอน้ำ
4. ตู้เย็น
สาเหตุที่เปิดแอร์เหมือนเดิม แต่กลับเสียค่าไฟฟ้ามากขึ้น เพราะคอมเพรสเซอร์ทำงานมากขึ้น เนื่องจากอากาศร้อน ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าขึ้นเร็วขึ้น ส่วนตู้เย็น ถ้ามีการเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ จะเปลืองไฟมากขึ้น หรือช่วง Work From Home ตุนของไว้ในตู้เย็นเป็นจำนวนมาก ก็ทำให้เปลืองไฟมากขึ้นเช่นกัน (แม้จะเป็นตู้เย็นประหยัดไฟ แต่ต้องแช่เครื่องดื่มไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น จึงจะได้จ่ายราคาต่อปีตามโฆษณา)
การตรวจรับบ้านในส่วนระบบไฟฟ้า
ตัวช่วยให้ผู้ซื้อตรวจระบบไฟฟ้าได้อย่างตรงจุด ก่อนตัดสินใจเซ็นตรวจรับบ้านและเข้าอยู่อาศัย เพื่อไม่ต้องกังวลใจกับปัญหาระบบไฟฟ้าในบ้านในภายหลัง
เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทเสียค่าไฟเท่าไหร่
อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น เมื่อเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง จะเสียค่าไฟเท่าไหร่ ดูได้ที่นี่
เครื่องใช้ไฟฟ้า | กินไฟเท่าไหร่ |
เครื่องดูดดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ | ค่าไฟ 6-8 บาท/ชั่วโมง |
เตารีดไฟฟ้า ขนาด 1,000-2,800 วัตต์ | ค่าไฟ 3.5-10 บาท/ชั่วโมง |
เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600-2,300 วัตต์ | ค่าไฟ 6-9 บาท/ชั่วโมง |
เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500-6,000 วัตต์ | ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท/ชั่วโมง |
เครื่องซักผ้า ฝาบน-ฝาหน้า ขนาด 10 กิโลกรัม | ค่าไฟ 2-8 บาท/ชั่วโมง |
เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู | ค่าไฟ 2.5-6 บาท/ชั่วโมง |
พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12-18 นิ้ว | ค่าไฟ 0.15-0.25 บาท/ชั่วโมง |
โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว | ค่าไฟ 0.40-1 บาท/ชั่วโมง |
เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร | ค่าไฟ 3-4 บาท/ชั่วโมง |
ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5-12.2 คิวบิกฟุต | ค่าไฟ 0.30-0.40 บาท/ชั่วโมง |
หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร | ค่าไฟ 3-6 บาท/ชั่วโมง |
เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760-900 วัตต์ | ค่าไฟ 3-3.5 บาท/ชั่วโมง |
เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1-2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ | ค่าไฟ 8-14 บาท/ชั่วโมง |
หมายเหตุ: คิดจากค่าไฟเฉลี่ยอัตรา 3.9 บาทต่อหน่วย ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง
5 ปัจจัยเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้คุ้มค่า
ลองมาดู 5 ปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้านหรือคอนโดมิเนียมของคุณ ซึ่งนอกจากรสนิยมแล้ว ยังต้องคิดวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย
หน้าร้อนทำไมค่าไฟฟ้าแพง
อากาศร้อนขึ้น บ้านร้อนขึ้น ทำให้แต่ละบ้านต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็นมากขึ้น เช่น แอร์ ตู้เย็น จากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง พบว่า หน่วยการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อรายของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน มีค่าสูงกว่าช่วงเดือนอื่น ๆ ของปี ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นของปีเช่นกัน
ค่าไฟฟ้าขึ้นจากการขึ้นค่า Ft
ค่า Ft ย่อมาจากคำว่า Float time มีความหมายว่า การลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ตามช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ
ล่าสุด คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติตรึงราคาค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. 67 ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย หรือค่าเอฟทีอยู่ที่ 39.72 สตางค์
มาตรการลดค่าไฟจากภาครัฐ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 19.05 สตางค์/หน่วย แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน ระยะเวลาดำเนินการ พ.ค.-ส.ค. 2567 (4 เดือน)
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ