ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

DDproperty Editorial Team
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 โอนกรรมสิทธิ์ แบ่งที่ดินให้ญาติเพื่อบรรเทาภาระภาษีของตนเอง ต้องเสียภาษีค่าโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเท่าไหร่ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูก ให้ญาติ หรือซื้อขายแตกต่างกันอย่างไร เป็นเรื่องที่เจ้าของที่ดินควรรู้ หลังจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ กำหนดอัตราภาษีให้ผู้ถือครองที่ดินต้องเสียภาษีค่าโอนที่ดินมากขึ้น
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน ตามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินมูลค่ามากกว่า 50 ล้านบาทต้องเสียภาษีค่าโอนที่ดิน หรือถือครองที่ดินมากกว่า 1 แปลง ก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก ยิ่งถือครองที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็ยิ่งเสียภาษีสูงขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนไปเสียภาษีค่าโอนที่ดินครั้งเดียว เพื่อยกให้ญาติพี่น้องช่วยกันถือครอง จึงเป็นทางออกที่ช่วยแบ่งเบาภาระภาษีได้
ภาษีโอนที่ดินที่เกิดจากการโอนบ้านหรือที่ดินให้แก่ลูก
ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 ภาษีค่าโอนที่ดินที่เกิดจากการโอนบ้านหรือที่ดินให้แก่ลูก

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบให้โดยเสน่หา

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย

ในกรณีพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน และต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือฝ่ายแม่ต้องการยกที่ดินให้ลูก (ซึ่งลูกนั้นชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายแม่เสมอ) จะเสียภาษีโอนที่ดิน 2566 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
  • ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมิน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท
แม้พ่อแม่จะถือครองที่ดินเพียงไม่กี่ปี แต่ก็ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ตามข้อยกเว้นของกรมสรรพากร กรณีนี้จึงมีอัตราภาษีโอนที่ดินที่ต่ำที่สุด

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ในกรณีพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือฝ่ายพ่อไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรแต่กำเนิด แล้วฝ่ายพ่อต้องการยกที่ดินให้แก่ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
  • ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
กรณีนี้ยังได้เสียธรรมเนียมการโอนเพียง 0.5% แต่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามขั้นบันได และถ้าถือครองไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่เกิน 1 ปี ก็จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย
คำนวณภาษีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

คำนวณภาษีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ค่าโอนที่ดินให้ญาติฝ่ายอื่นที่ไม่ใช่ลูก

การยกที่ดินให้ญาติที่อยู่ในสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หลาน หรือแม้แต่ยกที่ดินให้ลูกบุญธรรม หากไม่ใช่มรดกตกทอด จะเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 และมีค่าโอนที่ดินดังนี้
  • ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
หากไม่ใช่พ่อแม่ลูกกัน แม้จะเป็นญาติสนิทเพียงใด ก็ต้องเสียภาษีเหมือนการซื้อขายที่ดินตามปกติ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่หักค่าใช้จ่ายยืนพื้น 50% ไม่ว่าจะครอบครองมากี่ปีก็ตาม

ข้อควรระวังในการให้โดยเสน่หา

ตามปกติแล้ว การให้โดยเสน่หาจะถอนคืนไม่ได้ แต่ก็มีกรณีที่ผู้ให้ฟ้องร้องขอถอนคืนได้ เช่น ผู้รับประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทร้ายแรง ประทุษร้าย หรือไม่สงเคราะห์เลี้ยงดูผู้ให้เมื่อยากไร้ แต่จะได้คืนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาล

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินให้ญาติแบบซื้อขายตามปกติ

การซื้อขายทุกกรณี

ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินเมื่อซื้อขายทุกกรณี ไม่ว่าจะขายที่ดินให้ลูก หลาน พี่น้อง พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย จะเสียค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามการซื้อขายปกติ ดังนี้
  • ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2.0% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน หักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถือครอง
อัตราภาษีโอนที่ดินจะใช้เกณฑ์เดียวกันทุกคน แต่ภาษีจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ถือครอง และการตั้งราคาขายที่สูงกว่าราคาประเมิน ก็ส่งผลให้ค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะสูงขึ้นด้วย
ค่าธรรมเนียมการโอน
0.5%
0.5%
2.0%
ค่าอากรแสตมป์
0.5 หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
0.5 หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
0.5 หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5% (เฉพาะที่เกิน 20 ล้าน)
ตามขั้นบันได หักค่าใช้จ่ายได้ 50%
ตามขั้นบันไดและปีที่ถือครอง
รู้จักภาษีขายบ้าน (ภาษีธุรกิจเฉพาะ)

รู้จักภาษีขายบ้าน (ภาษีธุรกิจเฉพาะ)

ข้อควรระวังในการซื้อขาย

เมื่อการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ ผู้ซื้อสามารถนำที่ดินไปทำอะไรต่อก็ได้ทันที โดยที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ต่อที่ดินนั้นอีก เนื่องจากเป็นซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามกฎหมาย
ไม่ว่าจะยกที่ดินให้โดยเสน่หาหรือซื้อขายกันในราคาถูก จากข้อมูลข้างต้นก็สรุปได้แล้วว่า ทุกคนต่างต้องเสียภาษีโอนที่ดินด้วยกันทั้งหมด แต่การยกที่ดินให้ลูกเป็นวิธีเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2566 และภาษีโอนที่ดินที่ถูกที่สุด และการให้โดยเสน่หายังขอถอนคืนได้ หากพ่อแม่เห็นว่าลูกประพฤติเนรคุณอย่างร้ายแรงต่อตนเองในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 2566 ภาครัฐได้ออกมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย และค่าจดจำนอง สำหรับบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์/ทาวน์โฮม และคอนโด ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% ของราคาขายหรือราคาประเมิน และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% จากยอดเงินกู้ (เฉพาะการโอนและการจดจำนองในคราวเดียวกัน) ตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2566
สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

ภาษีโอนที่ดินให้ญาติ

ภาษีโอนที่ดินให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย เสียค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมิน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้าน

กรณีมีบ้าน-คอนโดหลายแห่ง ให้ย้ายชื่อตัวเองไปอยู่ในทะเบียนบ้านที่มีราคาแพงที่สุด หรือโอนอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นชื่อของญาติ เพื่อใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีบ้านหลังหลัก มูลค่าไม่เกิน 10-50 ล้านบาท

เจ้าของบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีดิน แต่ถ้าเป็นเจ้าของบ้านที่ไปปลูกในที่ดินของคนอื่น จะได้รับการยกเว้นในกรณีที่บ้านหลังนั้นมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท