พักชําระหนี้ทุกธนาคาร หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายภาคส่วนธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบ ธนาคารรัฐและพาณิชย์ จึงได้ออกมาตรการช่วยลูกหนี้ ทั้งการพักการชำระหนี้ ยืดระยะเวลา รวมถึงเพิ่มวงเงินหมุนเวียน สินเชื่อช่วยโควิด
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- สินเชื่อช่วยโควิด ธ.ออมสิน ให้กู้ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ไม่ต้องมีคนค้ำ-หลักประกันการกู้
- ธปท. ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาว ด้วยการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้
- ธ.ก.ส. ให้กู้ไม่เกิน 1 แสน ชำระคืนภายใน 1 ปี
- เว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน รวมมาตรการเยียวยาด้านการเงิน
สินเชื่อช่วยโควิด ธ.ออมสิน ให้กู้ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ไม่ต้องมีคนค้ำ-หลักประกันการกู้
ธนาคารออมสินเตรียมเปิดให้กู้โครงการ สินเชื่อห่วงใย (เพื่อสู้ภัยโควิด-19) ด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเม็ดเงินหมุนเวียนใช้สอยในครอบครัว ช่วยลดภาระหนี้สิน หรือใช้แก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง
ทั้งนี้ สินเชื่อห่วงใย (เพื่อสู้ภัยโควิด-19) เปิดให้ผู้มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย สามารถยื่นขอกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่เพียง 0.35% ต่อเดือน
พร้อมเงื่อนไขพิเศษ ไม่ต้องมีผู้ค้ำและไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ รวมถึงผ่อนปรนให้ผู้กู้ไม่ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 2 ปี
โดยเปิดให้ยื่นกู้สินเชื่อช่วยโควิด ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ผ่านทางแอป MyMo เท่านั้น ซึ่งสะดวกรวดเร็วและไม่ต้องไปติดต่อสาขา ผู้ที่ประสงค์ยื่นกู้สินเชื่อช่วยโควิด สามารถเข้าแอป MyMo และดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
– ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ โดยระบบจะกำหนดวันที่นัดหมายให้ลูกค้าล็อกอินเข้าแอปเพื่อกดยื่นขอกู้สินเชื่อช่วยโควิดอีกครั้ง
– ขั้นตอนที่ 2 กดยื่นขอกู้สินเชื่อช่วยโควิดผ่านแอป ตามกำหนดวันที่นัดหมาย
จากนั้นธนาคารฯ จะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบในวันถัดไป ผ่านแอป MyMo และ SMS โดยผู้ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อช่วยโควิด สามารถทำสัญญากู้ยืมเงินผ่านแอป (Digital Contract) และรับเงินกู้เข้าบัญชีได้โดยสะดวกรวดเร็วต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115 และที่ facebook: GSB Society
ธปท. ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาว ด้วยการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กำหนดให้มีแรงจูงใจในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วยการนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว
นอกจากนี้ ธปท. ได้ดำเนินการลดข้อจำกัดการทำรีไฟแนนซ์ (refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย
สาระสำคัญของมาตรการ สรุปดังนี้

1. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงินและ/หรือผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน
ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม

ส่วนในกรณีที่รับโอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (refinance) มาจากสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ได้
สำหรับสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ด้วย ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราที่ใช้หลังการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยโดยทั่วไปอย่างมีนัย
โดย ธปท. ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ทั้งการจัดชั้นหนี้ การกันเงินสำรอง และการดำรงเงินกองทุน เพื่อลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ สำหรับการรวมหนี้ที่ดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการดังกล่าว
โดยลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรงเพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการ
ธ.ก.ส. ให้กู้ไม่เกิน 1 แสน ชำระคืนภายใน 1 ปี
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าและป้องกันการก่อหนี้สินนอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงและไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร เปิดตัวสินเชื่อเงินด่วน A-Cash Gold เพื่อสนับสนุนลูกค้าให้มีเงินทุนในการเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพหรือเป็นค่าใช้จ่ายสำรองเงินฉุกเฉินในครัวเรือน กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

สำหรับเงื่อนไขการกู้เงินสินเชื่อ A-Cash Gold ต้องเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี โดยจำกัดวงเงินรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) กำหนดการชำระคืนภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ทำสัญญา
โดยลูกค้าสามารถใช้หลักประกันที่จดทะเบียนจำนองได้ไม่เกินร้อยละ 95 ลูกค้าที่สนใจสินเชื่อเงินด่วน A-Cash Gold สามารถติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมที่ Call Center 02-555-0555
เว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน รวมมาตรการเยียวยาด้านการเงิน
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จัดทำเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน.com เพื่อเผยแพร่มาตรการเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบการจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วและตรงตามความต้องการ

โดยได้วางโครงสร้างการออกแบบเว็บไซต์ เน้นความสะดวกและง่ายต่อการสืบค้นหาข้อมูลมาตรการด้านการเงินต่าง ๆ โดยสามารถเลือกค้นหาได้ทั้งตามสถาบันการเงินของรัฐแต่ละแห่ง ประกอบด้วย
1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารออมสิน
4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
7. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
8. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)
9. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
นอกจากนี้ยังเลือกตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่
1. เกษตรกรและ SMEs เกษตรกร
2. ประชาชนฐานรากและบุคคลทั่วไป
3. ผู้ประกอบการ SMEs
4. ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
5. Non-Bank

มาตรการช่วยลูกหนี้ต่าง ๆ ยังมีการจัดกลุ่มตามการช่วยเหลือเป็นด้าน ได้แก่ พักชําระหนี้ทุกธนาคาร พักชำระเงินต้น/ดอกเบี้ย ลดอัตราดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือเติมสินเชื่อใหม่ สินเชื่อช่วยโควิด ให้เพิ่มเติมอีกด้วย โดยเงื่อนไขในแต่ละมาตรการนั้น เช่น พักชําระหนี้ทุกธนาคาร สินเชื่อช่วยโควิด จะขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งเป็นผู้พิจารณาอนุมัติตามความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบ
โดยเมื่อประชาชนหรือผู้ประกอบการสนใจเลือกใช้มาตรการใดแล้ว สามารถคลิกลิงก์เข้าไปยังเว็บไซต์ของสถาบันการเงินของรัฐที่สนใจเพื่อดูรายละเอียดมาตรการพักชําระหนี้ทุกธนาคาร สินเชื่อช่วยโควิด และติดต่อเจ้าหน้าที่ได้
สรุปมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้
สถาบันการเงิน
|
มาตรการ
|
ธ.ออมสิน
|
สินเชื่อช่วยโควิด กู้ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ไม่ต้องมีคนค้ำ ไม่ต้องหลักประกันการกู้
|
ธปท.
|
รีไฟแนนซ์และรวมหนี้ลูกหนี้ประวัติดี และได้รับผลกระทบจากโควิด-19
|
ธ.ก.ส.
|
ให้กู้ไม่เกิน 1 แสน ชำระคืนภายใน 1 ปี
|
เว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน-ด้านการเงิน
|
รวมมาตรการเยียวยาด้านการเงิน 9 สถาบันการเงินของรัฐ
|
รวม Call Center ของสถาบันการเงินต่าง ๆ พักชําระหนี้ทุกธนาคาร สินเชื่อช่วยโควิด

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ