เส้นทางรถไฟฟ้า BTS-MRT ปัจจุบันมีการขยายเส้นทาง เพิ่มจำนวนสถานี ไม่เฉพาะภายในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังกระจายตัวสู่พื้นที่รอบนอกและจังหวัดปริมณฑลด้วย
การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า นอกจากจะเป็นโอกาสด้านการเดินทางแล้ว ยังนับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ซื้อบ้านและคอนโด รวมถึงกลุ่มนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ควรเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าของทำเลทองในอนาคตอันใกล้ เราจึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จัก เส้นทางรถไฟฟ้า แผนที่รถไฟฟ้า BTS-MRT ฉบับสมบูรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการลงทุน และอัปเดตราคารถไฟฟ้าใหม่ พร้อมทั้งเวลาเปิด-ปิดสถานีรถไฟฟ้าได้ที่นี่
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- ทบทวนใหม่ เส้นทางรถไฟฟ้า 12 สาย กรุงเทพฯ-ปริมณฑล
- อัปเดตราคาค่ารถไฟฟ้า
- อัปเดตเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว
- อัปเดตเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง
- อัปเดตเวลาให้บริการ เวลาเปิด-ปิดรถไฟฟ้า
ทบทวนใหม่ เส้นทางรถไฟฟ้า 12 สาย กรุงเทพฯ-ปริมณฑล
กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 โดยร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง
พร้อมนำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ปี 2553-2572) หรือแผนแม่บทฉบับที่ 1 ประกอบด้วย 12 สาย มาทบทวนใหม่ ได้แก่
1. รถไฟฟ้าสายสีแดง ธรรมศาสตร์-บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย
2. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ศาลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก
3. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ
4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ลำลูกกา-หมอชิต-สมุทรปราการ-บางปู
5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ยศเส-บางหว้า
6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ท่าพระ-บางซื่อ-หัวลำโพงบางแค-พุทธมณฑลสาย 7
7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ
8. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี
9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี
10. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง
11. รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-พระราม 4-สะพานพระราม 9
12. รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ดินแดง-มักกะสัน-สาทร
โดยจะพิจารณาเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีความจำเป็นจริง ๆ เพื่อให้สอดรับกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา และแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคต จึงต้องจัดลำดับความสำคัญเส้นทางของรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ต้องพิจารณาว่าเส้นทางตามแผนแม่บทฯ ยังมีความจำเป็นหรือไม่ จะต้องตัดออกหรือยังคงไว้เหมือนเดิม หรือต้องเพิ่มเส้นทางใดเข้ามาใหม่หรือไม่ เพื่อให้ทุกเส้นทางรถไฟฟ้ามีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน และช่วยลดงบประมาณการลงทุนในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็น
อัปเดตราคาค่ารถไฟฟ้า
1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 บริษัทฯ จะปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในเส้นทางสัมปทานระยะทาง 23.5 กิโลเมตร 24 สถานี ได้แก่
สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช และสายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีลม สถานีกรุงธนบุรี และสถานีวงเวียนใหญ่ จากราคา 16-44 บาท ปรับเป็น 17-47 บาท
ทั้งนี้ การปรับราคา ค่าโดยสารใหม่นั้น ยังต่ำกว่าเพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดตามสัญญาสัมปทานซึ่งอยู่ในอัตรา 21.52-64.53 บาท
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บโดยกรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย เส้นทางช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และเส้นทางช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ในอัตราสูงสุด 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสถานีโพธิ์นิมิตร-สถานีบางหว้า ได้มีการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายไปก่อนหน้านี้แล้ว ในอัตราสูงสุด 15 บาทตลอดสายเช่นกัน
สำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมด จะคิดอัตราค่าโดยสารสูงสุด อยู่ที่ 62 บาท (ส่วนต่อขยาย 15 บาท + เส้นทางหลัก 47 บาท = 62 บาท)
2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง
ค่าโดยสารแต่เดิมอยู่ที่ 14-42 บาท แต่จากนโยบายของรัฐบาลได้มีการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยอัตราค่าโดยสารสำหรับบุคคลทั่วไป 14-20 บาท, เด็ก/ผู้สูงอายุ 7-20 บาท และนักเรียน/นักศึกษา 13-20 บาท
นอกจากนี้ กรณีที่ผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีบางซ่อน โดยใช้บัตร EMV Contactless ใบเดียวกันในการชำระค่าโดยสาร และเปลี่ยนถ่ายระบบภายในระยะเวลา 30 นาที จะชำระค่าโดยสารทั้งสองสายรวมกัน สูงสุด 20 บาท
ดูรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 02-716-4044
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2567-2 กรกฎาคม 2569 ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่กำหนดให้ปรับอัตราค่าโดยสารทุกระยะเวลา 24 เดือน หรือทุก 2 ปี ภายใต้พื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงตามความเป็นจริงของดัชนีราคาผู้บริโภค
โดยมีอัตราค่าโดยสารเต็มราคาเริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 45 บาท (จากเดิมเริ่มต้น 17 บาท สูงสุด 43 บาท) ซึ่งจะปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท ณ จำนวนสถานีที่เดินทางที่ 2, 3, 4, 5, 6, 7, 9 และ 11 นับจากสถานีต้นทาง และปรับเพิ่มขึ้น 2 บาทจากเดิม ณ จำนวนสถานีที่เดินทางที่ 8, 10 และ 12 สถานีเป็นต้นไป
ทั้งนี้ ยังคงมีส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ 50% และสำหรับนักเรียน นักศึกษา 10% ของอัตราค่าโดยสารบุคคลทั่วไป
3. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง
อัตราค่าโดยสารใหม่สูงสุด 20 บาทตลอดสาย
จากนโยบายของรัฐบาลได้ปรับให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง อัตราสูงสุดไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย (จากอัตราค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท) ตลอดระยะเวลาเปิดให้บริการ ตั้งแต่ 05.00-24.00 น. ผู้โดยสารทั่วไปที่เดินทางตามระยะทางที่มีมูลค่าไม่เกิน 20 บาท ชำระค่าโดยสารตามจริง
สำหรับผู้โดยสารที่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อน ที่เดินทางตามระยะทางมีมูลค่าการเดินทางมากกว่า 20 บาท ชำระค่าเดินทางเพียง 20 บาทเท่านั้น และผู้โดยสารที่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนที่เดินทางตามระยะทางมีมูลค่าเดินทางไม่เกินราคา 20 บาท คงได้รับสิทธิ์ลดหย่อนตามปกติ
ทั้งนี้ เด็ก ผู้สูงอายุ และพระภิกษุ ยังคงได้รับส่วนลด 50% ส่วนนักเรียนและนักศึกษา ยังคงได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารเดิม โดยจะมีมูลค่าการเดินทางสูงสุดไม่เกิน 20 บาท
แต่สำหรับผู้ที่ถือบัตรโดยสารประเภทบัตรเหมาจ่าย TRANSIT PASS RED LINE X BMTA ที่เดินทางด้วยรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสาร ขสมก. จะไม่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว
ผู้โดยสารสามารถอยู่ในระบบรถไฟฟ้าได้ไม่เกิน 120 นาที หากอยู่ในระบบเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด จะคิดค่าธรรมเนียมอยู่เกินเวลาตามอัตราค่าโดยสารสูงสุด คือ 42 บาท
อัตราค่าโดยสารเดิม
รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ค่าโดยสารจะเริ่มต้นที่ 12-42 บาท
4. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link: ARL)
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เก็บอัตราค่าโดยสาร 15-45 บาท
5. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีทอง
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีทอง 16 บาทตลอดสาย
6. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอยู่ที่ 15-45 บาท
อัปเดตเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว
1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-เคหะสมุทรปราการ
เส้นทางแรกบนแผนที่รถไฟฟ้า BTS เดิมให้บริการจากสถานีหมอชิตและสิ้นสุดที่สถานีรถไฟฟ้าแบริ่ง และขยายต่อจนปัจจุบันเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้บริการถึงเคหะสมุทรปราการ
เส้นทางนี้ทอดยาวผ่านหลายทำเลทองย่านธุรกิจและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสยามสแควร์, ราชประสงค์, อโศก และพร้อมพงษ์ ทั้งยังมีหลายทำเลที่กำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางธุรกิจในอนาคตอย่างหมอชิต จตุจักร และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-หัวลำโพง
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT บางซื่อ-หัวลำโพง ถือเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของไทยที่ช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางจากขอบกรุงเทพที่ติดนนทบุรีสู่ศูนย์กลางเดินทางรถไฟที่หัวลำโพง
โดยทำเลทองที่เติบโตสูง ได้แก่ สีลม, สุขุมวิท, อโศก และย่านธุรกิจใหม่อย่างรัชดาภิเษก ย่านเหล่านี้เป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำ ห้างสรรพสินค้าไฮเอนด์ โรงแรมหรู และสวนสาธารณะ ตลอดจนเป็นแหล่งรวมที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง
3. รถไฟฟ้า BTS สายสีลม และส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า
รถไฟฟ้า BTS สายสีลม และส่วนต่อขยาย ตากสิน-บางหว้า เชื่อมต่อพื้นที่ฝั่งธนบุรี สู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยเป็นเส้นทางสำคัญในแผนที่รถไฟฟ้าที่มีโอกาสขยายตัวมากในอนาคต โดยเฉพาะวงเวียนใหญ่, กรุงธนบุรี และสะพานตากสิน
อีกทั้งรองรับการเดินทางทั้งทางบกและทางเรือ มีห้างสรรพสินค้าชื่อดังที่ลูกค้ามีศักยภาพในการซื้อ และเดินทางต่อไปได้ยังทำเลธุรกิจ ศาลาแดง, สีลม, สาทร และสยามสแควร์
4. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หรือ ARL เป็นสายสำคัญที่สุดในแผนที่รถไฟฟ้าสำหรับนักเดินทางไทยและนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ
โดยมีสถานีพญาไทเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังศูนย์กลางสายสีเขียวที่เป็นแหล่งช้อปปิ้งและบันเทิง และมีสถานีมักกะสัน ซึ่งตั้งอยู่ในย่านธุรกิจอโศก เชื่อมต่อสถานีเพชรบุรีของสายสีน้ำเงินที่มุ่งสู่ย่านธุรกิจสุขุมวิทและสีลม และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับสายสีเหลืองด้วย
5. รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่
รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ เส้นทางที่คนนนทบุรีควรไฮไลต์บนแผนที่รถไฟฟ้าให้เป็นทางเลือกสำหรับการพักอาศัยและการเดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบางใหญ่, แจ้งวัฒนะ, งามวงศ์วาน
ที่น่าจับตาคือ สถานีบางซื่อ เพราะถูกวางให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมสำคัญที่จะรองรับทั้งระบบรางในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และระบบรางรถไฟความเร็วสูงที่มุ่งหน้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ
รู้จักรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้มากขึ้น
รถไฟฟ้าสายสีม่วง ผ่านเส้นทางไหนบ้าง มีทำเลไหนที่โดดเด่น อัปเดตได้ที่นี่
6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง
รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง–หลักสอง เส้นทางน่าจับตาบนแผนที่รถไฟฟ้า โดยผ่านวัดมังกรและเมืองเก่า เช่น สนามไชย, เจริญกรุง และสามยอด ซึ่งมีอาคารบ้านเรือนและสถานที่สำคัญที่โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม จึงมีศักยภาพในการเติบโตด้านท่องเที่ยว นอกเหนือจากด้านที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก และเศรษฐกิจในเส้นทางชานเมืองมุ่งสู่ภูมิภาคตะวันตก
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทำไมจึงน่าสนใจ
ทำเลแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทำเลไหนน่าสนใจ อัปเดตที่นี่
7. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เตาปูน-ท่าพระ
ปัจจุบันเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว ทำเลที่น่าปักหมุดในแผนที่รถไฟฟ้าคือ บางซื่อและเตาปูน เพราะจะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมต่อหลายเส้นทางการเดินทางที่สำคัญ โดยท่าพระ สถานีรถไฟฟ้าปลายทาง ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลที่น่าจับจอง เพราะจะกลายเป็นศูนย์รวมการเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งธนบุรี
8. รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีทอง หรือรถไฟฟ้าสถานีกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-สะพานพุทธ เป็นโครงการขนส่งมวลชนบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี แม้ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสั้น ๆ ที่มีระยะทางทั้งสิ้นเพียง 2.8 กิโลเมตร แต่ก็ช่วยให้ทำเลที่รถไฟฟ้าสายสีทองพาดผ่านมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
โดยความพิเศษของรถไฟฟ้าสายสีทองคือ เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับสายแรกของประเทศ ใช้รางเบานำทาง แนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 4 สถานี โดยระยะแรก มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน ส่วนระยะที่ 2 มี 1 สถานี ได้แก่ สถานีประชาธิปก ค่าบริการ 15 บาท ตลอดสาย
อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีทอง ผ่านเส้นทางไหนบ้าง ส่งผลอย่างไรต่ออสังหาฯ อัปเดตที่นี่
9. รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีสถานีแรกคือ ห้าแยกลาดพร้าว ทำเลศักยภาพที่แวดล้อมด้วยแหล่งช้อปปิ้งและโรงเรียน รวมทั้งเชื่อมต่อการเดินทางไปยังย่านธุรกิจสำคัญทั้งจากเส้นทางตรงของสายสีเขียวนี้และการเปลี่ยนที่สถานีพหลโยธินของรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT
ส่วนต่อขยายนี้ ซึ่งเชื่อมการเดินทางจากชานเมืองมาสู่ย่านธุรกิจใจกลางเมือง จะเติบโตขึ้นอย่างมากด้วยโครงการที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย โดยขณะนี้ราคาที่ดินสูงขึ้นและมีโครงการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณสถานีรถไฟฟ้าห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน แยกเกษตร และหลักสี่
รู้จักรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีเขียว ผ่านทำเลไหนบ้าง ส่งผลต่ออสังหาฯ อย่างไร
10. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต
เส้นทางนี้เปิดให้บริการปี 2564 โดยมีทำเลทองอยู่ที่บางซื่อ ซึ่งถูกวางให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมยิ่งใหญ่ระดับอาเซียน และเชื่อมต่อไปวัดเสมียนนารี ดอนเมือง และสิ้นสุดที่รังสิต ประตูสู่ภาคเหนือและภาควันออกเฉียงเหนือที่คนนิยมพักอาศัย เนื่องจากเป็นที่ตั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัยชื่อดัง
รถไฟฟ้าสายสีแดง ปลุกทำเลชานเมือง
รถไฟฟ้าสายสีแดง ผ่านทำเลไหนบ้าง ส่งผลต่ออสังหาฯ อย่างไร
11. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน หมอชิต-ตลิ่งชัน
อีกหนึ่งเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ที่สถานีหมอชิต แม้จะก่อสร้างเสร็จนานแล้ว แต่เพิ่งเปิดให้บริการพร้อมรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม และสถานีกลางบางซื่อ ในอนาคตมีแผนจะต่อขยายจากสถานีตลิ่งชันไปจนถึงสถานีศาลายา
12. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
รถไฟฟ้าสายที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT ที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) สายสีส้มที่สถานีลำสาลี และรถไฟฟ้า Airport Rail Link ที่สถานีรถไฟฟ้าพัฒนาการ (สถานีหัวหมากของรถไฟฟ้า Airport Rail Link) จุดเชื่อมต่อเหล่านี้นำไปสู่ย่านธุรกิจและการศึกษา บนถนนลาดพร้าวและถนนศรีนครินทร์
ถือเป็นรถไฟฟ้าสายที่มีแนวโน้มเติบโตเป็นทำเลเศรษฐกิจสำหรับสำนักงานที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และคอมมูนิตี้มอลล์ โดยเฉพาะบริเวณโชคชัย 4, ลาดพร้าว, บางกะปิ, พัฒนาการ และศรีนครินทร์
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ทำเลไหนน่าลงทุน
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ผ่านเส้นทางไหนบ้าง เปิดใช้เมื่อไหร่ อัปเดตได้ที่นี่
13. รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
เส้นทางรถไฟฟ้าผ่านจากแหล่งที่อยู่อาศัยในนนทบุรี เขตชานเมืองกรุงเทพฯ จนถึงมีนบุรีซึ่งเป็นขอบกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า และตลาดนัด ที่สำคัญ เช่น กรมชลประทาน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และตลาดนัดจตุจักร 2 รวมทั้งผ่านรามอินทราและวัชรพลที่เป็นทำเลแห่งศักยภาพของที่พักอาศัยในแผนที่รถไฟฟ้า
อัปเดตรถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ผ่านทำเลไหนบ้าง เปิดใช้เมื่อไหร่ อัปเดตได้ที่นี่
อัปเดตเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
1. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2568 สถานีต้นทางตั้งอยู่แนวถนนรัชดาภิเษกและพระราม 9 ทำเลทองของโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นจุดตัดเส้นทางสู่ใจกลางเมือง มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ แหล่งความบันเทิง และรถไฟฟ้าที่ช่วยเสริมศักยภาพพื้นที่เชื่อมต่อรามคำแหง ตลอดจนมีอาคารสำนักงานจำนวนมาก จึงทำให้รถไฟฟ้าสายนี้เป็นอีกหนึ่งเส้นทางเศรษฐกิจ
2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)
คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2570 ถือเป็นรถไฟฟ้าที่ช่วยเชื่อมกรุงเทพฯ ทั้งฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนคร รวมถึงสมุทรปราการเข้าด้วยกัน จึงเป็นระบบขนส่งมวลชนที่นำคนจากปริมณฑลและชานเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองในย่านเมืองเก่า เช่น สะพานพุทธ, วังบูรพา, ผ่านฟ้า และบางขุนพรหม ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยบรรเทาการจราจรติดขัดบริเวณพระราม 2 ที่ประชาชนยังไม่มีทางเลือกอื่นในการเดินทาง
นอกจากนี้ การที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ผ่านย่านเมืองเก่านั้นน่าจะเป็นการสนับสนุนให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
รู้จักรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ให้มากขึ้น
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ 17 สถานี ผ่านแถวไหน มีทำเลไหนน่าลงทุน ดูได้ที่นี่
3. สถานีกลางบางซื่อ หรือ กรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีกลางบางซื่อ หรือที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทย ที่มีระบบขนส่งคมนาคมระบบรางที่ดีที่สุดของประเทศ อีกทั้งสถานีรถไฟระบบใหม่แห่งนี้ยังเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รวบรวมการเชื่อมต่อทุกการเดินทางด้านคมนาคมและธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน
โดยจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อการเดินทางในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน และรถขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการจราจรที่ติดขัด เพิ่มความสะดวก และประหยัดเวลาในการเดินทาง ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2564
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อ
สถานีกลางบางซื่อหรือกรุงเทพอภิวัฒน์ มีอะไรบ้าง อัปเดตได้ที่นี่
อัปเดตเวลาให้บริการ เวลาเปิด-ปิดรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้า MRT เปิดกี่โมง
เส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายแรก) รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และเตาปูน-ท่าพระ ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-24.00 น.
ความถี่ของการเดินรถ
วันจันทร์-ศุกร์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
05.30-07.00 | 5 นาที |
07.00-09.00 | 6.58*/3.29**/6.58*** นาที |
09.00-16.30 | 6.40 นาที |
16.30-17.30 | 5 นาที |
17.30-19.30 | 3.50 นาที |
19.30-21.00 | 5.20 นาที |
21.00-24.00 | 7.15 นาที |
*สถานีท่าพระ-บางโพ/**สถานีบางโพ-เพชรเกษม 48/***สถานีเพชรเกษม 48-หลักสอง
วันเสาร์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-16.00 | 8 นาที |
16.00-19.00 | 6.25 นาที |
19.00-24.00 | 8 นาที |
วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-24.00 | 8 นาที |
เส้นทางรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-24.00 น.
ความถี่ของการเดินรถ
วันจันทร์-ศุกร์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
05.30-06.30 | 7.12 นาที |
06.30-08.30 | 4.50 นาที |
08.30-09.30 | 6.25 นาที |
09.30-17.00 | 8.30 นาที |
17.00-20.00 | 4.50 นาที |
20.00-21.00 | 6.25 นาที |
21.00-24.00 | 9.30 นาที |
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-10.30 | 9.30 นาที |
10.30-19.00 | 9.30 นาที |
19.00-24.00 | 9.30 นาที |
รถไฟฟ้า BTS เปิดกี่โมง
เส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท เปิดให้บริการเวลา 05.15-24.00 น.
ความถี่ของการเดินรถ
ว้นจ้นทร์-ศุกร์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-07.00 | 5 นาที |
07.00-09.00 | 2.40*/5.20** นาที |
09.00-09.30 | 3.35 นาที |
09.30-16.00 | 6.30 นาที |
09.30-16.00 | 6.30 นาที |
16.00-16.30 | 4.25 นาที |
16.30-17.00 | 2.40*/5.20** นาที |
17.00-20.00 | 2.40*/5.20** นาที |
20.00-21.00 | 4.25 นาที |
21.00-22.00 | 6 นาที |
22.00-24.00 | 8 นาที |
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-08.00 | 7 นาที |
08.00-09.00 | 5.55 นาที |
09.00-11.00 | 5.55 นาที |
11.00-21.00 | 4.30*/6** นาที |
21.00-22.00 | 7 นาที |
22.00-24.00 | 8 นาที |
*สถานีหมอชิต-สำโรง/**สถานีสำโรง-เคหะ, หมอชิต-คูคต
เส้นทางรถไฟฟ้า BTS สายสีลม เปิดให้บริการเวลา 05.30-24.00 น.
ความถี่ของการเดินรถ
วันจันทร์-ศุกร์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-07.00 | 6 นาที |
07.00-09.00 | 3.45 นาที |
09.00-09.30 | 6 นาที |
09.30-16.00 | 6 นาที |
16.00-16.30 | 6 นาที |
16.30-17.00 | 6 นาที |
17.00-20.00 | 3.45 นาที |
20.00-21.00 | 6 นาที |
21.00-22.00 | 6 นาที |
22.00-24.00 | 8 นาที |
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-08.00 | 7 นาที |
08.00-09.00 | 7 นาที |
09.00-11.00 | 5.40 นาที |
11.00-21.00 | 5.40 นาที |
21.00-22.00 | 7 นาที |
22.00-24.00 | 8 นาที |
สำหรับลานจอดแล้วจร บริเวณรถไฟฟ้า BTS หมอชิต จะเปิดให้บริการจอดรถฟรี ตามเวลาปกติ ตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น.
อัปเดตตารางเวลา รถไฟฟ้า BTS-MRT
รถไฟฟ้า BTS และรถไฟฟ้า MRT เปิด-ปิดกี่โมง ขบวนแรกวิ่งกี่โมง เช็กได้ที่นี่
รถไฟฟ้าสายสีทอง เปิดกี่โมง
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง เปิดให้บริการเวลา 06.00-24.00 น.
ความถี่ของการเดินรถ
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-07.00 | 15 นาที |
07.00-16.00 | 10 นาที |
16.00-21.00 | 8 นาที |
21.00-22.00 | 10 นาที |
22.00-24.00 | 15 นาที |
รถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดกี่โมง
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เปิดให้บริการเวลา 05.00-24.00 น.
ความถี่ของการเดินรถ
1. รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-สถานีรังสิต (สายเหนือ) หรือสายธานีรัถยา จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 10 นาที และนอกช่วงเวลาเร่งด่วน ความถี่ 15 นาที โดยมีรายละเอียดดังนี้
ช่วงเวลา (น.) | ความถี่ |
05.00-07.00 | 15 นาที |
07.00-09.30 | 10 นาที |
09.30-17.00 | 15 นาที |
17.00-19.30 | 10 นาที |
19.30-24.00 | 15 นาที |
2. รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน (สายตะวันตก) หรือสายนครวิถี
- ความถี่ 20 นาที
- ช่วงเวลา 05.00-05.30 น. สามารถซื้อเหรียญโดยสารได้ที่ตู้จำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ และเติมเงินบัตรโดยสารได้ที่ตู้เติมเงินอัตโนมัติ
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เปิดกี่โมง
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เปิดให้บริการเวลา 05.30-24.00 น.
ความถี่ของการเดินรถ
วันจันทร์-ศุกร์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-07.00 | 10 นาที |
07.00-09.00 | 5 นาที |
09.00-17.00 | 10 นาที |
17.00-20.00 | 5 นาที |
20.00-24.00 | 10 นาที |
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ช่วงเวลา (น.) | เวลาระหว่างขบวนรถโดยประมาณ |
06.00-15.00 | 10 นาที |
15.00-20.00 | 10 นาที |
20.00-24.00 | 10 นาที |
เส้นทางรถไฟฟ้า BTS-MRT มีส่วนสำคัญที่ทำให้การคมนาคมในมหานครเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งยังส่งเสริมการเติบโตของทำเลทองที่มีอยู่และสร้างทำเลทองแห่งใหม่บนแผนที่รถไฟฟ้า
โดยเฉพาะบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่ในอนาคตจะกลายเป็นแลนด์มาร์กสำคัญและเป็นพื้นที่ที่หลายคนต้องการเป็นเจ้าของ รวมถึงผู้ที่สนใจหาทำเลทองเพื่อลงทุนธุรกิจ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ