แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ลดลงจาก Q1 2564 และคาดว่าจะยังไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2564 ส่วนดัชนีอุปทาน (จำนวนที่อยู่อาศัย) มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงปลายปี 2563 เนื่องจากผู้ประกอบการเริ่มกลับมาเปิดตัวโครงการใหม่ ควบคู่กับการเร่งระบายสต็อกคงค้างโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือเริ่มนำสินค้าออกมาขาย แต่หลังจากมีการระบาดอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจำนวนอุปทานจะปรับตัวลดลงอีกครั้ง
ไฮไลต์
1. Get The Guru View
2. ดัชนีราคา
3. ทำเลน่าจับตา
4. ดัชนีอุปทาน
– ทำเลที่มีซัพพลายลดลงมากที่สุดในรอบไตรมาส
– ที่อยู่อาศัยราคา 5-10 ล้าน มีจำนวนมากที่สุด
5. แนวโน้มตลาดอสังหาฯ
6. สรุป
7. ดาวน์โหลดรายงาน
หากคุณยังไม่มีเวลาอ่าน
ดาวน์โหลดรายงาน Thailand Property Market Index Q2 2021 เก็บไว้อ่านภายหลัง
Get The Guru View
ดัชนีราคา
ราคาอสังหาริมทรัพย์ในช่วง Q2 2564 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจาก Q1 2564 ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีการระบาดอีกระลอก ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น หรือชะลอการซื้อออกไป ทำให้ผู้ประกอบการยังคงใช้กลยุทธ์ด้านราคา ดึงดูดใจผู้ซื้อด้วยแคมเปญส่วนลด และโปรโมชันต่าง ๆ เพื่อเร่งการตัดสินใจของผู้ซื้อ
จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ล่าสุด พบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน (-4% QoQ) ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ Q2 2560)
ทำเลน่าจับตา
ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก และพื้นที่รอบนอก CBD ที่มีรถไฟฟ้าพาดผ่านทั้งปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ เขตทวีวัฒนา มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสก่อน เขตตลิ่งชัน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 6% ส่วนหนึ่งมาจากอานิสงส์ของรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ใกล้เปิดใช้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2564
สำหรับเขตบางเขน มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาสก่อน จากอานิสงส์ของรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-คูคต ซึ่งเปิดให้บริการปลายปี 2563
ดัชนีอุปทาน
อุปทานหรือจำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง Q1 2564 ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือ นำสินค้าออกมาขายมากขึ้น ในช่วงดังกล่าวซึ่งสถานการณ์โควิด-19 เริ่มมีสัญญาณคลี่คลาย (ก่อนที่ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 จะมีการระบาดครั้งใหญ่อีกครั้ง) แต่การดูดซับยังค่อนข้างน้อย ทำให้ยังคงมีจำนวนอุปทานเหลืออยู่ในตลาดอยู่มาก โดยดัชนีอุปทานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 399 จุด จาก 363 จุด หรือเพิ่มขึ้นถึง 10% จากไตรมาสก่อน
คอนโดมิเนียมมีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ 88% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 10% บ้านเดี่ยวมีสัดส่วน 7% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ (+12% QoQ) และทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วน 5% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ (+12% QoQ)
ทำเลที่มีซัพพลายลดลงมากที่สุดในรอบไตรมาส
ทำเลในกรุงเทพฯ ที่มีดัชนีอุปทานลดลงมากที่สุดในรอบไตรมาส ส่วนใหญ่อยู่ในทำเลใจกลางเมือง ได้แก่ แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี ลดลง 17% แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ลดลง 8% แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน ลดลง 4% และแขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม ลดลง 2%
เมื่อพิจารณาร่วมกับความสนใจซื้อ พบว่า ทำเลข้างต้นได้รับความสนใจซื้อจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน มีความสนใจซื้อเพิ่มขึ้นถึง 81% แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน เพิ่มขึ้น 70% และแขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม เพิ่มขึ้น 15% ส่วนในแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี มีความสนใจซื้อลดลง 14% จากไตรมาสก่อน
ที่อยู่อาศัยราคา 5-10 ล้านบาท มีจำนวนมากที่สุด
หากแบ่งตามระดับราคาที่อยู่อาศัย พบว่า ระดับราคาที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ระดับ 5-10 ล้านบาท รองลงมาคือ 3-5 ล้านบาท และ 1-3 ล้านบาท
จำนวนอุปทานที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในทุกระดับราคา โดยเฉพาะระดับราคา 1-3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากไตรมาสก่อน รองลงมาคือระดับราคา 5-10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% และระดับราคา 3-5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10%
หากพิจารณาจากความสนใจซื้อของผู้บริโภค แม้ว่าระดับราคาที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในรอบไตรมาสคือ 1-3 ล้านบาท แต่ที่อยู่อาศัยระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไปได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในรอบไตรมาสคือ เพิ่มขึ้น 34% รองลงมาคือ ระดับราคา 5-10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% ส่วนระดับราคา 3-5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23%
แนวโน้มตลาดอสังหาฯ
แม้ว่าการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ต่อปี จะดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดอกเบี้ยบ้านให้อยู่ในระดับต่ำ แต่ต้องยอมรับว่ายังมีความผันผวนจากความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ และการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้น การที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง และก่อให้เกิดภาระผูกพันระยะยาวอย่างที่อยู่อาศัย จะต้องมีวินัยทางการเงินและระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ปัจจัยที่ต้องจับตาในช่วง Q2 2564 คือ มาตรการจากภาครัฐที่ออกมาต่อเนื่องและสอดคล้องกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนเร่งดำเนินมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชน
สรุป
ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลของการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ โดยการลดค่าโอน-จดจำนองให้กับที่อยู่อาศัยใหม่ ราคาไม่เกิน 3 ล้าน แต่กลับพบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยระดับราคาดังกล่าวยังคงเหลืออยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างยังคงชะลอตัว ส่วนระดับราคาอื่นเริ่มมีสัญญาของการชะลอตัวของฝั่งผู้ซื้อเช่นกัน
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจ รวมไปถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วที่สุด เพราะจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อ สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกที่จะชะลอการซื้อออกไป หรือใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้นกว่าเดิม แม้ราคาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันจะน่าซื้อมากเพียงใดก็ตาม
THAILAND PROPERTY MARKET INDEX Q2 2564
สำหรับข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่
บทความน่าสนใจจาก Thailand Property Market Index ในรอบก่อน
Thailand Property Market Index Q1 2564
แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจาก Q4 2563 และไม่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ส่วนดัชนีอุปทาน (จำนวนที่อยู่อาศัย) มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงชะลอเปิดโครงการใหม่ และเร่งระบายสต็อกคงค้างโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่ รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือยังคงชะลอการขายออกไปในช่วงนี้ โดยโครงการใหม่ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบที่เจาะกลุ่มเรียลดีมานด์ หรือผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง และกลุ่มนักลงทุนที่มีความพร้อม
อสังหาฯ ยังคงชะลอตัว รอวัคซีน-มาตรการรัฐช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ
ตลาดอสังหาฯ ยังคงชะลอตัว อัปเดตภาพรวมได้ที่นี่
Thailand Property Market Index Q4 2563
ตลาดอสังหาฯ 3 จังหวัดท่องเที่ยว ท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่
สภาพตลาดอสังหาฯ จังหวัดท่องเที่ยว ท่ามกลางโควิด-19 ระลอกใหม่ อัปเดตได้ที่นี่
Thailand Property Market Index Q3 2563
5 ประเด็นต้องจับตากับทิศทางตลาดอสังหาฯ หลังโควิด-19
5 ประเด็นที่ต้องจับของตลาดอสังหาฯ ไทย หลังโควิด-19
จับตาตลาดอสังหาฯ คาดฟื้นตัวครึ่งหลังของปี 2563
ตลาดอสังหาฯ ไทย คาดฟื้นตัวครึ่งหลังของปี 2563 จากสัญญาณดังต่อไปนี้
เรื่องไหนจริง เรื่องไหนมั่ว เช็กให้ชัวร์ก่อนซื้อบ้าน
ค้นหาเรื่องจริงที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อบ้านได้ที่นี่
ทำไมช่วงเวลานี้คือโอกาสทองของผู้ซื้อคอนโด
ช่วงเวลานี้คือโอกาสทองของผู้ซื้อคอนโดจริงไหม เพราะอะไร หาตำอบได้ที่นี่
Thailand Property Market Index Q2 2563
จับตาบ้าน-คอนโดแนวรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน น่าซื้อ-ลงทุน
บ้าน-คอนโด แนวรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ทำไมถึงน่าซื้อ และน่าลงทุน หาคำตอบได้ที่นี่
ถอดบทเรียนอสังหาฯ อาเซียน ในยุคโควิด-19
อสังหาฯ อาเซียน ในยุคโควิด-19 สอนอะไรเราได้บ้าง หาคำตอบได้ที่นี่
ทำไมอสังหาฯ ไทย ยังน่าซื้อ-ลงทุน
ค้นหาว่าทำไมอสังหาฯ ไทย ยังน่าซื้อ และน่าลงทุน ได้ที่นี่
ทำเลไหนที่คนส่วนใหญ่เลือกซื้อบ้าน
ค้นหาว่าทำเลไหนที่คนไทยอยากซื้อบ้านได้ที่นี่
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ